Category: Environment

ทำความรู้จัก โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน พลังงานสะอาดกันเถอะ

ด้วยเพราะความต้องการใช้ไฟฟ้านั้นมีเพิ่มขึ้นอยู่เสมอ ทำให้หลาย ๆ จึงต้องหาแหล่งวัตถุดิบการผลิตกระแสไฟฟ้า โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ที่เป็นการนำพลังงานหมุนเวียน (RENEWABLE ENREGY) มาเป็นแหล่งที่กำเนิดพลังงาน ที่สามารถนำมาใช้แล้วไม่มีวันหมดไป มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยมาก อีกหนึ่งทางเลือกด้านการใช้พลังงานเพราะเป็นพลังงานสะอาด ที่นับว่ามีบทบาทมากขึ้นโดยเฉพาะการผลิตกระแสไฟฟ้า 

โรงงานไฟฟ้าพลังหมุนเวียนคืออะไร 

โรงงานไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน (RENEWABLE ENREGY) ก็คือโรงไฟฟ้าที่ใช้วัตถุดิบหลัก ๆ จากเป็นพลังงานทดแทนที่สามารถหมุนเวียนมาใช้ โดยไม่มีวันหมด มักเป็นพลังงานสะอาด และไม่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมส่วนใหญ่ จะอาศัยพลังงานลม พลังงานน้ำ หรือ พลังงานแสงอาทิตย์ 

โรงงานไฟฟ้าพลังหมุนเวียนคืออะไร 

1. โรงไฟฟ้าพลังงานลม 

เป็นการนำพลังงานจากลม ที่เป็นแหล่งพลังงานสะอาดมาใช้ประโยชน์ ด้วยการเปลี่ยน พลังงานจลน์เปลี่ยนรูปไปเป็น “พลังงานไฟฟ้า” กระแสไฟฟ้าผ่านระบบควบคุมไฟฟ้า และจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ระบบต่อไป ข้อดี คือ ไม่ต้องมีต้นทุนในการผลิตพลังงานไฟฟ้าสูงเพราะเป็นแหล่งพลังงานที่เกิดจากธรรมชาติ ไม่มีวันหมด เป็นพลังงานสะอาดสามารถใช้ระบบไฮบริดเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด คือ กลางคืนใช้พลังงานลมกลางวันใช้พลังงานแสงอาทิตย์ 

2. โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 

โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนนี้ เป็นการนำพลังงานจากแสงอาทิตย์มาผลิตไฟฟ้า ด้วยการนำกระจกพาราโบล่า (heliostats) จำนวนมาก มาสะท้อนรังสีความร้อนจากแสงอาทิตย์ ถ่ายเทผ่านตัวกลางที่สะสมความร้อนได้ จากนั้น นำความร้อนไปผลิตไฟฟ้าแบบโรงไฟฟ้าพลังความร้อน ซึ่งสามารถท่าได้ 2 แบบใหญ่ ๆ คือ แบบหอคอยรับรังสี (TOWER RECEIVER) กับแบบท่อดูดซับ (ABSORBER TUBE) 

ข้อดีสำหรับโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน แสงอาทิตย์เป็นแหล่งสะอาดที่ได้จากธรรมชาติ ที่ใช้ไม่มีวันหมด ส่วนข้อเสียคือปริมาณในการผลิตไฟฟ้าไม่มีความแน่นอน ขึ้นอยู่กับแสงอาทิตย์ของแต่ละวัน และพลังงานที่ได้จะไม่สูง ถ้าต้องการใช้ไฟฟ้าสูงอาจจะต้องเพิ่มจำนวนของแผงโซล่าเซลล์ตามขนาดที่ต้องการใช้ไฟฟ้า 

3. โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ 

โรงไฟฟ้าชนิดนี้มักจะตั้งอยู่ในบริเวณแหล่งน้ำ ที่มีการประเมินแล้วว่าสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงานน้ำได้ เช่น น้ำจากเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำ มีระดับน้ำสูงกว่าระดับของโรงไฟฟ้า ปล่อยน้ำไปยังโรงไฟฟ้าที่อยู่ต่ำกว่า พลังน้ำจะไปหมุนเพลา ทำให้มอเตอร์หมุน เกิดการเหนี่ยวนำขึ้นในเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ได้พลังไฟฟ้าเกิดขึ้น 

พลังงานหมุนเวียนจากน้ำ ข้อดีคือเป็นแหล่งสะอาดที่ได้จากธรรมชาติที่ใช้ไม่มีวันหมด แต่ก็มีข้อเสียคือ ในการสร้างเขื่อนนั้นอาจส่งผลกระทบต่อหลายพื้นที่ รวมถึงแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยของสัตว์ รวมถึงเมื่อมีการสร้างเขื่อนจะต้องมีการเคลื่อนย้ายประชากรไปยังจุดเหนือเขื่อนด้วย  

4. โรงไฟฟ้าพลังงานจากใต้พิภพ 

ชนิดต่อมาเป็นแหล่งไฟฟ้าที่ได้จากน้ำพุร้อนใต้พิภพที่มีอุณหภูมิสูงจนสามารถที่จะนำมาทำการผลิตไฟฟ้าได้ โดยจะทำการเจาะหลุมที่มีน้ำร้อนอุณหภูมิสูงแล้วดูดเข้าถังต้มไอ แล้วส่งเข้าไปขับดันเครื่องกังหันไอน้ำให้หมุนไปเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าออกมาใช้งาน 

ข้อดีของโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ประเภทนี้คือ พลังงานความร้อนใต้พิภพเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าเมื่อเทียบกับแหล่งพลังงานหมุนเวียนอื่น ๆ เช่น ลมและพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานความร้อนใต้พิภพให้กระแสพลังงานที่สม่ำเสมอ ไม่จำเป็นต้องมีเชื้อเพลิง เพราะพลังงานความร้อนใต้พิภพเป็นทรัพยากรที่เกิดขึ้นตาม 

บทส่งท้าย 

โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน เป็นการนำพลังงานหมุนเวียนแต่ละประเภทมาใช้ประโยชน์ในแต่ละพื้นที่ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมหลายปัจจัย ทั้งด้านเทคนิค หรือเทคโนโลยี รวมถึงปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม แม้ว่าพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียนจะยังมีไม่มากนัก และด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าจึงทำให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และเกิดประโยชน์มากที่สุด

พลังงานแสงอาทิตย์ คืออะไร? อุปกรณ์อะไรใช้ผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์

พลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นพลังงานที่ได้รับการผลิตมาจากรังสีของดวงอาทิตย์โดยตรง ได้รับจากดวงอาทิตย์อยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะมาในรูปแบบความร้อน หรือพลังงานแสงก็ตาม ซึ่งล้วนสามารถนำเอาไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ ไม่มีวันหายไปแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นการผลิตไฟฟ้า และพลังงานความร้อน 

พลังงานแสงอาทิตย์ การผลิตไฟฟ้า ที่ได้รับความนิยมสูง 

การผลิตพลังงานไฟฟ้าที่ได้มาจากพลังงานแสงอาทิตย์สามารถผลิตได้ 2 แนวทางด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสง หรือการผลิตไฟฟ้าแบบใช้พลังงานความร้อน แต่การผลิตไฟฟ้าแบบที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ก็คือ การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสง ตามมาทำความรู้จักกันเลย 

การผลิตพลังงานไฟฟ้า ที่ผลิตมาจากพลังงานแสง ซึ่งได้มีการถูกผลิตขึ้นมาครั้งแรกในปี ค.ศ. 1883 ผลิตขึ้นมาโดยผู้เชี่ยวชาญ ที่มีชื่อว่า ชาร์ลส ฟริตส ซึ่งจะมีการผลิตพลังงานไฟฟ้าโดยอาศัยวิธีการที่เรียกว่าโฟโต้โวลทาอิค หมายถึงการเปลี่ยนแปลงพลังงานแสงอาทิตย์ ให้กลายมาเป็นพลังงานไฟฟ้าโดยตรง ซึ่งจะมีการใช้อุปกรณ์ช่วยเสริม ที่มีชื่อว่า “โซล่าเซลล์” 

โซล่าเซลล์ ทำจากอะไร มาดูกันเลย 

โซล่าเซลล์ หรือที่หลายคนเรียกกันว่าเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งได้มีการทำมาจากสารกึ่งตัวนำ ไม่ว่าจะจะเป็น แกลเลียม, อาร์เซไนด์, ซิลิคอน, อินเดียมฟอสไฟด์, คอปเปอร์อินเดียมไดเซเลไนด์ และ แคดเมียมเทลเลอร์ไรด์ แต่หากพูดถึงสารที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ก็คือการใช้ซิลิคอน เนื่องจากสามารถหาได้ง่าย มีคุณภาพสูง และมีราคาที่ถูกอีกด้วย  

อุปกรณ์สำหรับการผลิตกระแสไฟฟ้า จากแสงอาทิตย์ ต้องใช้อะไรบ้าง?  

  • แผงโซล่าเซลล์ ซึ่งจะมีการนำมาเรียงต่อกัน เป็นชุด หรือเป็นแผง เพื่อที่จะทำให้ได้พลังงานไฟฟ้าตามที่ต้องการ หากมีการมาเรียงต่อกันแบบขนาน ก็สามารถได้พลังงานไฟฟ้าเพิ่มมากยิ่งขึ้น ซึ่งหากนำมาตอบเป็นแบบอนุกรม ก็จะได้แรงดันไฟฟ้าที่สูงขึ้น 
  • เครื่องควบคุมการชาร์จ เป็นตัวช่วยในการควบคุมชาร์จประจุไฟ เข้าไปยังแบตเตอรี่ และจะมีการจ่ายไฟออกมาอย่างพอดี เพราะพลังงานแสงอาทิตย์เรียกได้ว่าเป็นพลังงานที่ไม่มีความแน่นอน แสงไม่ได้ส่องสว่างอยู่ตลอดเวลา ไม่สามารถเก็บไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอด ซึ่งเครื่องโครงการชาร์จจะช่วยยืดอายุแบตเตอรี่ได้อีกด้วย 
  • แบตเตอรี่ ตัวช่วยในการเก็บพลังงาน ที่มีการสร้างมาจากแผงโซล่าเซลล์ สามารถเก็บไว้ใช้ได้ในทุกเวลาที่ต้องการ แม้ไม่มีแสงอาทิตย์ก็สามารถใช้ได้เช่นเดียวกัน 
  • เครื่องแปรงกระแสไฟฟ้า ตัวช่วยแปลงไฟฟ้าที่มาจากกระแสตรง กลายมาเป็นกระแสสลับ สามารถใช้งานได้ง่ายกับเครื่องใช้ทั่วไป 
  • ระบบป้องกันฟ้าผ่า ป้องกันความเสียหายของอุปกรณ์ได้ดีเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน หรือว่าจะเป็นฟ้าผ่า ก็สามารถช่วยป้องกันได้ ต้องใช้ร่วมกับสายดิน 

พลังงานแสงอาทิตย์ สร้างประโยชน์สุดล้ำค่า และเพิ่มความสะดวกสบายต่อการดำรงชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี ถือว่าเป็นทางเลือกที่ดี ประหยัดไฟได้เต็มที่ ยิ่งช่วงหน้าร้อนตอบโจทย์ที่สุด

โรงไฟฟ้าชีวมวล พลังงานที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญต่ออนาคต

ในยุคปัจจุบัน โรงไฟฟ้าชีวมวล เข้ามามีบทบาทสำคัญมากขึ้นในการผลิตพลังงานของมนุษย์เป็นอย่างมาก โรงไฟฟ้าชีวมวลเปลี่ยนชีวมวล (สารอินทรีย์) ให้กลายเป็นพลังงาน เช่น ความร้อน ไฟฟ้า เชื้อเพลิงเหลวและก๊าซ โรงไฟฟ้าชีวมวลผลิตพลังงานหมุนเวียนจากชีวมวลผ่านการเผาไหม้โดยตรง อันก่อให้เกิดสาร ไพโรไลซิส แก๊สซิฟิเคชัน หรือสร้างพลังงานจากการแปลงทางเคมี หรือการย่อยสลายของจุลินทรีย์ ซึ่งการสร้างพลังงานจากโรงไฟฟ้าชีวมวลมีข้อดีหลายประการ มีความน่าสนใจกว่าการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลแบบดั้งเดิม และที่สำคัญคือ เป็นวิธีการผลิตพลังงานหมุนเวียนที่สำคัญ ดังนั้นมาดูกันดีกว่าว่าโรงไฟฟ้าชีวมวลทำงานอย่างไร  

โรงไฟฟ้าชีวมวล สถานที่เปลี่ยนสารอินทรีย์ให้เป็นพลังงาน 

โรงไฟฟ้าชีวมวล เป็นโรงงานอุตสาหกรรมที่ทำหน้าที่เปลี่ยนสารอินทรีย์ให้เป็นพลังงานที่ใช้งานได้ และมีองค์ประกอบในการผลิตพลังงานเหล่านี้ อันประกอบด้วยเตาเผาไหม้ หม้อไอน้ำ กังหันหรือเครื่องยนต์ (ตัวขับเคลื่อนหลัก) เครื่องกำเนิดพลังงาน และปล่องควัน การสร้างพลังงานจากโรงไฟฟ้าชีวมวลมีกระบวนการที่หลากหลาย ในการแปลงพลังงานที่รวมอยู่ในวัตถุดิบตั้งต้นชีวมวล ได้แก่… 

  • การเผาไหม้โดยตรง – ชีวมวลถูกเผาเพื่อผลิตความร้อน 
  • การแปลงจุลินทรีย์ – แบคทีเรียที่ไม่ใช้ออกซิเจนจะทำหน้าที่ย่อย และหมักชีวมวล เพื่อผลิตเชื้อเพลิงก๊าซและแอลกอฮอล์ 
  • ไพโรไลซิส – มวลชีวภาพที่ได้รับความร้อนแบบไม่มีออกซิเจน เพื่อผลิตเชื้อเพลิงก๊าซ ของเหลว และของแข็ง 
  • การแปรสภาพเป็นแก๊ส – มวลชีวภาพได้รับความร้อน และมีการควบคุมปริมาณออกซิเจนและไอน้ำ เพื่อผลิตก๊าซและเชื้อเพลิงเหลว   
  • การแปลงทางเคมี – ไขมันและน้ำมันอินทรีย์ จะถูกเปลี่ยนเป็นเมทิลเอสเทอร์ สำหรับใช้ผลิตเชื้อเพลิงไบโอดีเซล 
  • ไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ – แหล่งชีวมวลเบื้องต้นสำหรับการผลิตพลังงาน สารอินทรีย์ประเภทอื่น ๆ ทั่วไปที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้าชีวมวล ได้แก่…ผลพลอยได้จากพืชและสัตว์เกษตร, สารอินทรีย์ในขยะเทศบาล, มูลคนและมูลสัตว์  

โรงไฟฟ้าชีวมวล ผลิตพลังงานได้อย่างไร? 

การสร้างพลังงานไฟฟ้าชีวมวล ใช้กระบวนการหลากหลาย เพื่อแปลงพลังงานสังเคราะห์แสงที่จับอยู่ในวัสดุอินทรีย์ให้อยู่ในรูปแบบที่ใช้งานได้ การเผาไหม้โดยตรง ได้แก่…ไพโรไลซิส แก๊สซิฟิเคชัน การแปลงจุลินทรีย์ และการแปลงสารเคมี ซึ่งเป็นกระบวนการที่ใช้บ่อยที่สุดสำหรับการแปลงชีวมวลเป็นพลังงาน 

โรงไฟฟ้าชีวมวล เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการสร้างพลังงานในอนาคตของมนุษย์ ที่จะเข้ามาแทนที่เชื้อเพลิงหรือพลังงานในรูปแบบเก่า ไม่ว่าจะเป็น น้ำมัน, ถ่านหิน หรือเชื้อเพลิงประเภทอื่น ๆ ที่ก่อให้เกิดการเผาไหม้ และก่อให้เกิดมลพิษต่อระดับชั้นบรรยากาศของโลกในระดับสูง และที่สำคัญคือเป็นพลังงานที่มีวันหมด ดังนั้นการใส่ใจในเรื่องของการพัฒนาโรงไฟฟ้าชีวมวลจึงมีความจำเป็นสำหรับการก่อร่างสร้างตัว ในเรื่องของพลังงานในอนาคตเป็นอย่างมาก     

อันตรายของพลังงานจากขยะ

ในปัจจุบันมีการสร้างพลังงานขยะมากมาย ซึ่งในประเทศของเรามีแนวโน้มจำนวนการเพิ่มขึ้นของขยะอย่างต่อเนื่อง ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการกำจัด ยังไม่มีทางออกของปัญหาที่จะสามารถกำจัดได้โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ในปัจจุบันได้มีผู้เชี่ยวชาญและผู้ที่มีความสามารถและความรู้ทางด้านพลังงานได้เข้ามาชี้แนะว่าขยะสามารถสร้างให้เป็นพลังงานจากขยะได้ โดยการทำเตาปฏิกรณ์ขนาดใหญ่บรรจุขยะเอาไว้ จากนั้นให้นำไปเผาให้เกิดเป็นความร้อน เพื่อก่อตัวให้เป็นมวลไอน้ำมากมายหลอมรวม เอามาสร้างให้เป็นพลังงานไฟฟ้า 

อันตรายของพลังงานขยะ 

บอกเลยว่าการทำพลังงานขยะนั้นเป็นสิ่งที่มีอันตรายสูงมาก มีความเสี่ยงทางปัจจัยหลากหลายเรื่อง เพราะเราไม่สามารถทราบได้เลยว่าต้นน้ำจนถึงปลายน้ำของขยะนั้นมีการใช้งานหรือผ่านอะไรมาบ้าง มีทั้งขยะเปียก ขยะแห้ง ขยะติดเชื้อ ขยะอันตรายต่าง ๆ มากมายผสมปนเปกันมา ซึ่งหากจะต้องมานั่งขัดแยกขยะแต่ละประเภทนั้นก็ใช้ระยะเวลาที่ค่อนข้างนานและเสียเวลาหรือหากจะนำมาเผาไม่เลยโดยไม่ต้องมีการคัดแยกเก็บทำความสะอาดเบื้องต้นก็จะเป็นความเสี่ยงสูงที่จะมีการทำปฏิกิริยาแล้วเกิดประกายไฟหรือเกิดระเบิดขึ้นได้  

ดังนั้นการสร้างพลังงานจากขยะจึงไม่ค่อยได้รับความนิยมสักเท่าไหร่นัก เพราะมีโอกาสที่จะส่งผลกระทบต่อมนุษย์สัตว์หรือสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะสิ่งแวดล้อมเพราะในการเผาไม่จะต้องมีการปล่อยเขม่าควันหรือมีการปลดปล่อยก๊าซพิษต่าง ๆ ออกมามากมายสู่บรรยากาศ ทำให้สิ่งแวดล้อมได้รับอันตรายจากการคายก๊าซที่มีการเจือปนของก๊าซพิษออกมา ทำให้มนุษย์สูดดมสุดหายใจเข้าไปแล้วเกิดอันตรายในระยะยาวได้ 

ดังนั้นจึงนิยมสร้างพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานธรรมชาติรูปแบบอื่น ๆ มากกว่าที่เป็นพลังงานบริสุทธิ์ ไม่มีผลกระทบหรือสิ่งอันตรายใด ๆ รวมทั้งไม่ต้องใช้กระบวนการทำที่ซับซ้อนหรือระยะเวลาทำที่ยาวนานมากนัก เนื่องจากพลังงานจากขยะนั้นจะต้องมีการทำเตาปฏิกรณ์ขนาดใหญ่ที่ต้องใช้ต้นทุนค่อนข้างสูง หากจะต้องเป็นเตาปฏิกรณ์ที่มีความคงทน มีคุณสมบัติทนไฟทนต่อแรงระเบิดหรือความกดดันสูงได้ จึงถือว่าวัสดุที่นำมาใช้ต้องเป็นวัสดุชั้นดี ราคาสูง อาจจะไม่คุ้มค่าแก่การนำขยะมาทำเป็นพลังงานแบบนี้ เราผู้ประกอบการหลายรายจึงหันมาใช้พลังงานในรูปแบบอื่น ๆ ในการสร้างพลังงานไฟฟ้า แต่ก็ยังมีบางส่วนที่พร้อมที่จะสร้างพลังงานขยะอยู่ซึ่งผู้ประกอบการเหล่านั้นจะต้องมีการจัดวางตำแหน่งของเอาปฏิกรณ์ที่อยู่ห่างไกลกับชาวบ้านในพื้นที่ที่ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติรายล้อมหรือมีบ้านเรือนที่พักอาศัยของมนุษย์อยู่แถวนั้นเลยเป็นอันขาด เพื่อความปลอดภัยของทุกคนนั่นเอง 

เรื่องน่ารู้ของแผ่นพลาสวูด และราคาแผ่นพลาสวูด ในปัจจุบัน

แผ่นพลาสวูด (Plastwood) เชื่อว่าหลายท่านรู้จัก หรือเคยได้ยินชื่อนี้กันจนคุ้นหู แต่รู้หรือไม่ว่าแผ่นพลาสวูด คืออะไร ผลิตจากอะไร และราคาแผ่นพลาสวูด ในปัจจุบันขายกันที่เท่าไหร่ วันนี้เราจะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับแผ่นพลาสวูดให้มากขึ้น พร้อมทั้งคุณสมบัติโดดเด่นที่น่าสนใจของแผ่นพลาสวูด แล้วคุณจะได้รู้ว่าแผ่นพลาสวูดมีดีกว่าที่คุณคิด ถ้าอยากรู้แล้วก็ตามไปชมพร้อมๆ กันเลย

แผ่นพลาสวูด (Plastwood) คืออะไร

แผ่นพลาสวูด (Plastwood) คือ แผ่นพีวีซีโฟมชนิดแข็ง โดยผ่านกระบวนการผลิต Celuka Process ทำให้ได้ลักษณะผิวด้านนอกที่มีความแข็งแรง ทนทาน เหมาะสำหรับใช้ในงานฝ้า ผนัง รวมถึงใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งภายในและภายนอก นอกจากนั้นยังนิยมใช้ทำป้ายชื่อร้าน ป้ายโฆษณาต่างๆ อีกด้วย

คุณสมบัติที่โดดเด่นของแผ่นพลาสวูด (Plastwood)

ปัจจุบันมีการนำแผ่นพลาสวูดมาใช้แทนงานไม้ เนื่องจากทรัพยากรด้านป่าไม้เริ่มลดน้อยลง จนส่งผลกระทบต่อภาวะโลกร้อน อย่างไรก็ตาม แผ่นพลาสวูดมีคุณสมบัติที่โดดเด่นและมีความแตกต่างจากไม้ธรรมชาติ ดังต่อไปนี้

  • มีความยืดหยุ่นสูง

สามารถนำแผ่นพลาสวูดมาโค้ง ดัด หรืองอ ใช้งานได้ตามความต้องการ แต่การดัด โค้ง งอ จำเป็นต้องใช้ความร้อนหรืออาจใช้กระบวนการเป่าลมร้อนที่อุณหภูมิ 120 องศาเซลเซียส โดยใช้เวลาประมาณ 1-5 นาที

  • ทนทานต่อสารเคมีและการกัดกร่อน

แผ่นพลาสวูดเหมาะสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร หรือใช้ในห้องแลปทดลองทางวิทยาศาสตร์ แม้ว่าแผ่นพลาสวูดจะมีความทนทานน้อยต่อน้ำมันเบนซิน แต่ก็สามารถทนทานต่อตัวทำละลายรุนแรงของสารบางชนิดได้ เช่น ACETONE , ACETALDEHYED ,CARBON เป็นต้น

  • ใช้เป็นฉนวนกันความร้อนและเสียง

ช่วยให้ห้องเย็นสบาย ไม่มีความร้อนสะสม นอกจากนั้นแผ่นพลาสวูดยังสามารถใช้เป็นแผ่นกันเสียงสะท้อนได้ดี นิยมใช้ทำตู้ลำโพง หรือกั้งห้องเพื่อป้องกันเสียงรบกวนได้

  • น้ำหนักเบา

แผ่นพลาสวูดมีน้ำหนักเบา โดยทั่วไปแล้วแผ่นพลาสวูดจะมีความหนาแน่นประมาณ 0.55-0.65 g / cm 3 จึงทำให้ง่ายต่อการติดตั้ง ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง

นอกจากนั้นแล้วแผ่นพลาสวูดยังมีคุณสมบัติที่โดดเด่นในเรื่องของการทนทานต่อแมลง และปลวก ซึ่งยากต่อการทำลาย อีกทั้งยังทนต่อความร้อนได้ ปัจจุบัน ราคาแผ่นพลาสวูด จำหน่ายในราคาที่แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ ราคาถูกหรือแพงขึ้นอยู่กับขนาดและความหนา ส่วนขนาดและความหนาที่นิยมใช้งานปัจจุบัน คือ กว้าง 1.22 เมตร และยาว 2.44 เมตร หากความหนาตั้งแต่ 1-3 มิลลิเมตร มีราคาประมาณ 200-500 บาทต่อแผ่น ส่วนความหนาทั้งแต่ 4 มิลลิเมตรขึ้นไปก็มีราคาตั้งแต่ 500 บาทไปจนถึงหลักพัน